สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 สมัยอาณาจักรล้านนา มีเชียงใหม่เป็นราชธานี วัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง พระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ด้วยการอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง แล้วล้มลง ได้มีการห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น
ในปี พ.ศ. 2081 พระเจดีย์ได้ก่อสร้างให้สูงกว่าเดิม
ในปี พ.ศ. 2100 ได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น อีกทั้งได้สร้างถนนขึ้นไปมีความถึง 11.53 กิโลเมตร
เจดีย์รูปแบบทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์ตัวเมืองเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจน และมีบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน
รอบองค์พระบรมธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการ ได้แก่ 1. ฉัตร ๔ มุมทำด้วยทองเหลือง ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง ๔ ทิศ 2. สัตติบัญชร หรือ รั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ 3. หอยอลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ) 4. หอท้าวโลกบาลซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ หมายถึง ที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ 5. ไหดอกบัวแปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย
งานประเพณี ขึ้นดอยเพื่อสักการะพระธาตุดอยสุเทพจัดเป็นประจำทุกปี (เดือนพฤษภาคม) โดยมีขึ้นก่อนหน้าวันวิสาขบูชา 1 คืน ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุโดยมีพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่าง ๆ มาร่วมขบวนแห่ขึ้นดอยเป็นจำนวนมาก
การเดินทาง โดยยานพาหนะจากกรุงเทพ ถึง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ เครื่องบิน รถไฟ และรถยนต์
การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ :
นักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถเดินทางมาที่วัดโดยรถสองแถวประจำทางจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านถนนห้วยแก้ว ซึ่งบริการระหว่างเวลาประมาณ 05.00-17.00 น.
นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น. ........................................................